TKP Start UP

ประวัติหน่วยงาน

ปลูกมันฝรัง ปลูกได้ที่ยอดชาด


 

หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวในการทำนา เกษตรกรชาวบ้านยอดชาด มีอาชีพปลูกมันฝรัง

ชาวบ้านยอดชาดหมู่ที่1 ตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนมได้ปลูกมันฝรั่ง หลังทำนาเสร็จก็ปลูก โดยมีอุตสาหกรรมโรงงานที่ใช้มันฝรั่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอย่าง “เลย์” มีการประกันราคา ทำให้เกิดความมั่นใจ จึงตัดสินใจปลูกมันฝรั่งส่งขายให้เป็นเวลา 5 กว่าปีมาแล้ว การปลูกมันฝรั่งเพื่อป้อนเข้าโรงงาน แตกต่างจากการปลูกมันฝรั่งเพื่อเป็นหัวพันธุ์ ที่“ขนาด” โดยการปลูกมันฝรั่งเพื่อป้อนเข้าโรงงานมันฝรั่งทอดกรอบนั้น อ่านต่อ...

สถานที่ท่องเที่ยว วัดวังโน ตำบลวังยาง


 พระพุทธมิ่งมงคลวังยาง เป็นพระพุทธรูปขนาดสูงใหญ่มีความสูง 72 เมตร ราวๆ ตึก 5 ชั้น ประดิษฐานอยู่ที่

วัดวังโน บ้านวังโน หมู่ 2 ตำบลหนองโพธิ์ อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม ปัจจุบันมี พระครูเมธีศาสนธำรง
เป็นเจ้าอาวาส อ่านต่อ...

กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองนางด่อน

 


จากธรรมชาติสู่เส้นใย ผ่านกระบวนการมัดย้อมและการทออย่างประณีต ผ้าย้อมสีธรรมชาติมีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัด การย้อมอย่างละเอียดและชำนาญ เริ่มจากนำฝ้ายเข็นมาปันหลอด เพื่อนำไปค้นให้เป็นทางยืนและสืบเครือเพื่อเตรียมการทอจากนั้นนำไปย้อมสีธรรมชาติ เช่น ย้อมโคลน ย้อมเปลือกไม้ ตามความต้องการให้สวยงาม หลังจากนั้นจึงนำด้ายปั่นกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะเป็นลวดลายที่มัดอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผ้ามัดหมี่ อ่านต่อ...

ปราชญ์สมุนไพรศูนย์สุขภาพการแพทย์แผนไทย

 

การแปรรูปสมุนไพรของหมอเมย รามฤทธ์ ปราชญ์สมุนไพร ประจำศูนย์สุขภาพการแพทย์แผนไทย จะเน้นสมุนไพรพื้นบ้านและสมุนไพรที่พบในป่าเขา นำมาปลูกบริเวณพื้นบ้านเพื่อสะดวกในการเก็บมาปรุงยาที่ เนื่องจากคนในชุมชน มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เกือบทุกบ้านจะปลูกสมุนไพร และพืชผักสวนครัวไว้กินเอง รวมถึงปลูกเป็นไม้ประดับ อ่านต่อ...

เครื่องปั้นดินเผา การปั้นครก

บ้านกลาง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นชุมชนที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเพื่อขายเป็นอาชีพเสริมเพราะบ้านกลางเป็นพื้นที่ที่มีบ่อดินเหนียวที่หนองกุดค้าวแห่งเดียวในจังหวัดนครพนม โดยตอนแรกผลิตเป็นกิจการของครัวเรือน ซึ่งการทำเครื่องปั้นดินเผาเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน อ่านต่อ...
 

พิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทญ้อ วัดคามวาสี


 พิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมไทญ้อ วัดคามวาสี ที่ตั้ง หมู่ที่ 8 ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

ถิ่นฐานเดิมของไทญ้อ อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ของประเทศลาวหรือจังหวัดล้านช้างของไทยสมัยหนึ่ง ไทญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไชยบุรี ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351 ต่อมาเมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2369)

อ่านต่อ...

การปลูกยาสูบ และมะเขือเทศ (อาชีพของบรรพบุรุษ)


 ในตำบลบ้านแพง เป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยดินและน้ำอย่างพร้อมสรรพ การปลูกพืชเศรษฐกิจในตำบลบ้านแพง จึงสามารถพืชได้หลายชนิด แต่การการปลูกยาสูบและมะเขือเทศ เป็นอาชีพที่มีมาตั้งแต่ บรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบัน การปลูกยาสูบและมะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจอีกประเภทที่ทำรายได้ให้เกษตรกรในตำบลบ้านแพง อ่านต่อ...

งานประเพณีแพเซิ้ง


 งานแห่แพเซิ้งกระทงยักษ์จะมีก่อนวันลอยกระทงหนึ่งวัน ชาวบ้านแพงแต่ละชุมชน จะร่วมแรงร่วมใจสร้างแพไม้ไผ่ขนาดใหญ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าแฝก เนรมิตขึ้นมาเหมือนกับบ้านหลังหนึ่ง สามารถบรรทุกคนได้ประมาณ 15 คน ภายในแพพรั่งพร้อมด้วยลำโพง เครื่องเสียง ตรงหัวแพเซิ้งทุกลำจะทำกระทงขนาดใหญ่ อ่านต่อ...

กุฏิวัดโพธิ์ศรี (บ้านแพงใต้)

 


วัดโพธิ์ศรี หรือวัดโพธิ์ศรีบ้านแพงใต้ สร้างในปีพ.ศ. 2409 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2478 ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานสำคัญคือกุฏิที่สร้างในปีพ.ศ. 2460 สมัยพระสิมมา เจ้าอาวาสรูปแรกลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น อิทธิพลศิลปะตะวันตกแบบโคโลเนียลโดยรับผ่านมาทางประเทศเวียดนาม อ่านต่อ...

พระธาตุมหาชัย ประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธ (กลางวัน)

 


พระธาตุมหาชัย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ องค์พระธาตุมหาชัยมีลักษณะแตกต่างจากพระธาตุอื่นๆ โดยมีรูปทรงแปดเหลี่ยม มองดูคล้ายระฆังทอง โดยเชื่อกันว่าที่รูปทรงเป็นเช่นนี้มาจากหลักการ ๔ พระอรหันต์ โดยเปรียบพระสารีริกธาตุเป็นตั้งองค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าที่อยู่ตรงกลาง โดยมีการสร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ นอกจากนี้องค์พระธาตุมีการยกสูงขึ้น จากพื้น เพิ่มความสูงขององค์พระธาตุสูงถึง ๔๐ เมตร อ่านต่อ...

ผ้าทอพื้นเมือง

 


จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดที่เก่าแก่จังหวัดหนึ่งในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ในพื้นที่นี้ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ด้านศิลปวัฒนธรรม และหัตถกรรมพื้นบ้านหลายอย่าง เช่น การทอผ้า การจักสาน เป็นต้น ประกอบด้วยด้วยจังหวัดนครพนมมีชนเผ่าที่อยู่อาศัยหลายเผ่า แต่ละเผ่าจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น  อ่านต่อ...

ประเพณีหล่อเทียนพรรษาและแห่เทียนพรรษา

 


วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่ต่อเนื่องมาจาก วันอาสาฬหบูชา โดยในประเทศไทยเราจะมี ประเพณีถวายเทียนพรรษา ที่สืบทอดกันเรื่อยมาเป็นเวลานาน ชาวบ้านในตำบลนางัว ก็มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมนี้สืบทอดกันมาในทุกๆปี เพื่อรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่สืบต่อกันมานาน และเพื่อเป็นการสร้างความรักความสามัคคีในชุมชนแต่ละชุมชน จึงได้จัดมีการหล่อเทียนพรรษาและแห่เทียนพรรษา เพื่อถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ที่จะจำพรรษา ณ วัดนั้นๆ เพื่อให้พระภิกษุใช้ในการทำกิจของพระศาสนา อ่านต่อ...

น้ำตกตาดขาม

 


น้ำตกตาดขาม เกิดจากลำธารหลายสายบนยอดเขาไหลมาบรรจบกันเป็นลำห้วยขาม เป็นน้ำตกที่ไม่สูงมากนัก สูงประมาณ 30 เมตร ลึก 5 เมตร และบริเวณใกล้ๆ มีลานหินเล็กๆ สำหรับพักผ่อน มีน้ำตกไหลเป็นชั้นๆ จำนวน 4 ชั้น เฉพาะชั้นสุดท้ายจะมีแอ่งน้ำขังตลอดทั้งปี น้ำตกตาดขาม เป็นที่รู้จักของประชาชนจังหวัดใกล้เคียง เช่น หนองคาย สกลนคร และบึงกาฬ ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม อ่านต่อ...

แหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่นและหมอพื้นบ้านของชาวตำบลนางัว

ปฐมบทศาสตร์แห่งการเรียนรู้ สืบทอดจากบิดา ( นายบุญ กุณรักษ์ ) บิดาขณะนี้เสียชีวิตแล้ว นายบรรจง กุณรักษ์ผู้เป็นบุตรได้เรียนรู้ตํารายาสมุนไพร คาถาการกํากับยา การประกอบยารักษาโรคกับบิดามาตั้งแต่ เยาว์วัย เริ่มตั้งแต่ช่วยเป็นลูกมือขุด ตัด ล้าง สมุนไพรให้บิดาประกอบตัวยา จดจําสิ่งที่บิดาได้บอกเล่า ยังไม่มีการบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร อาศัยการจดจําและการสังเกตจนมีความรู้ความเข้าใจในตัวยาสมุนไพรและวิธีการรักษารวมถึง การใช้คาถาวิชาอาคมในการกํากับยาสมุนไพรและการใช้คาถา อ่านต่อ...

วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม

 


วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม เป็นวัดเก่าแก่มีอายุมากกว่า 150 ปี เดิมเป็นวัดมหานิกาย มีเจ้าอาวาสปกครองคณะสงฆ์สืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงวาระที่พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตต หรือหลวงปู่เกิ่ง เป็นเจ้าอาวาส ท่านเกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2430 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ณ บ้านสามผง ต.สามผง อ.ศรีสงคราม เมื่ออายุ 22 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทครั้งแรกฝ่ายมหานิกาย ที่วัดโพธิ์ชัย มีพระอาจารย์คำดีเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่เกิ่ง เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อ่านต่อ...

แหล่งปลาร้าชั้นยอด ลุ่มน้ำสงคราม บ้านปากยาม


 

ทุกยาม ไม่เว้นแม้แต่ฤดูแล้ง ลุ่มน้ำสงครามยังคงคราคร่ำไปด้วยชาวประมง ชาวประมงที่เป็นการทำประมงน้ำจืดในลุ่มน้ำสงคราม สายน้ำที่ไม่เคยเหือดแห้ง หากไม่ทราบอาจจะเข้าใจได้ว่า ลุ่มน้ำสงครามเป็นส่วนหนึ่งของลำน้ำที่แยกมาจากแม่น้ำโขง แต่เปล่าเลย ลุ่มน้ำสงครามเป็นสายน้ำที่อยู่สูงกว่าแม่น้ำโขง ทำให้น้ำในลุ่มน้ำสงครามต่างหากที่จะไหลออกสู่แม่น้ำโขงตามเส้นทางเชื่อมโยง แต่เหตุผลที่ลุ่มน้ำสงครามยังคงมีน้ำหล่อเลี้ยงตลอดปี เพราะมีแหล่งน้ำดีที่ให้น้ำอย่างต่อเนื่องจากเทือกเขาภูพาน อ่านต่อ...

ต้นจามจุรียักษ์ สวยงามศักดิ์สิทธิ์ อายุเกือบ 300 ปี ที่เดียวในไทย

 


พบต้นจามจุรียักษ์ สวยงาม ศักดิ์สิทธิ์ อายุเกือบ 300 ปี เป็นอันซีนต้นไม้เก่าแก่โบราณขนาดใหญ่ อาจถือว่าเป็นที่เดียวในไทย ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือมีขนาดใหญ่ และมีความสวยงาม กิ่งก้านปกคลุมด้วยใบเฟิร์นแบบธรรมชาติ มีกิ่งก้านนับ 100 กิ่ง ความยาวประมาณ 20 - 30 เมตร แผ่ปกคลุมไปทั้งพื้นที่วัด ขนาดลำต้นสูงใหญ่ วัดรอบวงต้นประมาณ 7-8 เมตร หรือ 9 คนโอบ อ่านต่อ...

ภูมิปัญญา การสานชะลอม


 ในหมู่บ้านมีปราชญ์ชาวบ้านด้านการจักสาน ที่อยู่หมู่ที่ 11 ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม คือนางยุพิน ขันตะ เป็นวิทยากรที่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการจักสาน เช่น ชะลอม ที่ทำมาจากไม้ไผ่ในพื้นที่โดยทำการสอนให้กับกลุ่มแม่บ้านหนองบัวคำ หมู่ที่ 11 ตำบลนามะเขือ อ่านต่อ...

ชาวนา อาชีพที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ


 

ทำนา เป็นอาชีพส่วนใหญ่ของชาวตำบลนางัว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพราะคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก ผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา เรียกว่า ชาวนา อาชีพชาวนาจึงเป็นอาชีพที่สำคัญเพราะเป็นอาชีพที่ผลิตข้าวเลี้ยงคนในประเทศไทย ชาวนาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

อ่านต่อ...

สัปรดหวาน ตำนานชุมชนนาขมิ้น

 

อาชีพในท้องถิ่นตำบลนาขมิ้น
ด้วยบริบทสภาพแวดล้อมของชุมชนตำบลนาขมิ้น อำเภอโพนสวรรค์ ประกอบอาชีพเกษตรเป็นส่วนใหญ่ การประกอบอาชีพแต่เดิมเป็นการทำนา ทำไร่ ทำสวน โดยพื้นฐาน เป็นวิถีชีวิตแบบชุมชนต่างจังหวัด และด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมประกอบกับความต้องการเพิ่มรายได้ของคนในชุมชนที่ต้องการหาช่องทางการทำเกษตรทางเลือก จึงได้ทดลองการทำการเกษตร พืชสวนชนิดอื่น ๆ จนมาจบกับการทำสวนสับปะรดที่ทำให้เกิดรายได้ และเป็นพืชส่งออกของชุมชน อ่านต่อ...

แหล่งท่องเที่ยว วัดพุทธนิมิตร


 วัดพุทธนิมิตร ตำบลหนองเทา อำเภอท่าอุเทน วัดนี้เป็นสถานปฏิบัติธรรมริมโขงในลักษณะวัดป่า แต่ส่วนหน้าสุดของวัด ก็มีพระอุโบสถอันสวยงามวิจิตรตระการตา แสดงถึงพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่ร่วมกันก่อสร้าง ความโดดเด่นคือลวดลายตามช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ของพระอุโบสถแห่งนี้ ได้เห็นแล้วอดไม่ได้ที่จะทำให้นึกถึงวัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย ราวกับเป็นฝาแฝดกัน อ่านต่อ...

แหล่งเรียนรู้ การทำน้ำหมักชีวภาพ


 น้ำหมักชีวภาพ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดจากเกษตรกรนำเศษพืช สัตว์ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นไปหมักกับกากน้ำตาล และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายท้องถิ่น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีการผลิตการนำน้ำหมักไปใช้แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของวัตถุดินที่ใช้กรรมวิธีในการหมัก ระยะเวลาที่หมัก ตลอดจนวิธีใช้กับพืชและการใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ พอจะแยกชนิดและอัตราส่วนในการผลิตตามวัสดุหลักที่ใช้ผลิตน้ำหมักชีวภาพได้ 2 ประเภท คือ อ่านต่อ...

กรุบ หรือ งอบ "ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่" จากภูลังกา




  ตำบลนางัว เป็นตำบลในอำเภอบ้านแพงที่มีพื้นที่ด้านเหนือติดกับ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบ้านแพง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ทิศใต้ติดกับตำบลโพนทอง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม และทิศตะวันตก ติดกับตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นทิวเขาที่เรียนว่า ทิวเขาภูลังกา เป็นทิวเขาแนวยาวติดกับจังหวัดบึงกาฬ เป็นป่าของอุทยานแห่งชาติภูลังกา มีป่าไม้ที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ซึ่งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่อุทยานได้อนุรักษ์ไว้ เพื่อใช้เป็นแหล่งต้นน้ำ แหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว อ่านต่อ...

การจักสานไม้ไผ่

 


งานจักสานไม้ไผ่ เกิดขึ้นโดยการใช้ไม้ไผ่นนำมาจัก ผ่า ฉีกให้เป็นเส้นบาง ๆ แล้วนำมาขัด สาน สอด ไขว้ขึ้นโครงเป็นรูปทรงทำเป็นภาชนะ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ จัดเป็นงานศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความผูกพันและอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน แสดงได้ถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาบรรพบุรุษ มีการสืบทอดกันมาแต่โบราณ มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ ด้วยเป็นทั้งหัตถกรรมที่เป็นของใช้ในในครัวเรือนและชีวิตประจำวันจนถึงเป็นอาชีพที่เป็นแหล่งรายได้อีกด้วยการสร้างสรรค์งานจักสานไม้ไผ่ต้องใช้ทั้งภูมิปัญญาความประณีต ความละเอียดอ่อน และทักษะฝีมือ ตั้งแต่การรู้จักคุณสมบัติของไม้ไผ่แต่ละชนิดที่มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้ประโยชน์ในการจักสาน การเตรียมเส้นเพื่อการสานที่เหมาะสมกับการสานผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด แต่ละรูปแบบและที่สำคัญคือการสานขึ้นรูปจนสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่นำไปประโยชน์ใช้สอยตามที่ต้องการงานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ จึงยังคงเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ยังคงมีการสืบทอดต่อกันมา นับจากอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน อ่านต่อ...

บุญผะเหวด ตำบลนาคูณใหญ่

 


หลายคนคงจะสงสัยอยู่ว่าคำว่า "ผะเหวด" มีความหมายอย่างไรคำว่า "ผะเหวด" นั้นเป็นการออกเสียงตามสำเนียงอีสาน มาจากคำว่า "พระเวส" หมายถึงพระเวสสันดร งานบุญผะเหวดเป็น 1 ในประเพณี 12 เดือน หรือฮีตสิบสอง ของชาวตำบลนาคูณใหญ่ โดยพระเพณีนี้จะจัดขึ้นในเดือนที่ 4 ของไทยหรือเดือนมีนาคม โดยกำหนดจัดงานในเดือนมีนาคมทุกปีประเพณีบุญผะเหวดหรือบุญเดือนสี่นั้น สะท้อนให้เห็นถึง ความศรัทธาอันแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวบ้านตำบลนาคูณใหญ่ ยึดถือและปฏิบัติกันมาช้านานและอย่างเคร่งครัด เพราะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ เพราะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ที่สุดก็ว่าได้การจัดงานบุญผะเหวดนั้นอยู่ที่การเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกหรือเทศน์มหาชาติ มีจำนวนทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยชาวตำบลนาคูณใหญ่ มีความเชื่อว่าถ้าหากว่าฟังเทศน์ครบทั้งหมดวันเดียว และจัดเตรียมเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง อ่านต่อ...

ป่าชุมชน บ้านม่วง

 


ชุมชนชาวบ้านม่วง หมู่ที่ 1,7 ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ได้ร่วมมือกันอนุรักษ์ป่าของหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในเขตป่าในเขตพื้นที่อำเภอนาหว้า มาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งได้พึ่งพิงป่าชุมชนแห่งนี้ ใช้ประโยชน์เป็นแหล่งหาอาหารพื้นบ้านจากป่าเพื่อนำมาบริโภคในครัวเรือนของคนในชุมชน ต่อมาผู้นำหมู่บ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใหญ่ ณภัทร ศิริวุธ มีความประสงค์ที่จะให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูป่า เพื่อให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เกิดประโยชน์กับชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อมมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันพื้นที่ป่าชุมชนมีจำนวน ต้นไม้สำคัญ ประกอบด้วย ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้เต็ง ไม้รัง อ่านต่อ...

ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลนาคูณใหญ่ การสานกระติบข้าว

 


ชาวบ้านตำบลนาคูณใหญ่ ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังจากพ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนใหญ่จะว่างงาน ผู้นำครอบครัวที่เป็นผู้ชายก็ต้องทำงานรับจ้างตามฤดู ส่วนแม่บ้านจะทำหน้าที่เลี้ยงดูบุตรหลานส่วนหนึ่งรับจ้างทั่วไป หารายได้พอจุนเจือครอบครัว เพื่อรอฤดูการเพาะปลูกครั้งต่อไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาพรวม ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่นและไม่มีอาชีพเสริมขาดรายได้ นางสดใส ปิลอง ได้มีแนวความคิดที่อยากมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา อ่านต่อ...

แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 


ตามวิถีโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีพัฒนาก้าวไกลทันสมัย การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ข้าวยากหมากแพง จนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ประชาชนดำรงชีวิตด้วยความยากลำบาก ทำให้เราต้องยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการดำเนิน ชีวิต

ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ก็เป็นอีกตำบลหนึ่ง ที่มีแหล่งเรียนรู้ที่น่าเข้าไปศึกษาเรียนรู้ ที่พึ่งเริ่มก่อตั้ง โดยสวนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นของนางจรัส ศรีธงยศ บ้านเลขที่ 7 หมู่ที่ 8 ตำบลโพนทอง พื้นที่ 9 ไร่ ทำมาได้ 1 ปี มีการจัดสรรพื้นที่ ทำนา ปลูกไม้ผล เลี้ยงปลา โดยเริ่มจากการปลูกผักและจัดสรรที่ดินในการปลูกพืชหลายๆอย่างแบบผสมผสาน

อ่านต่อ...

เย็บด้วยจักรปักด้วยมือ

 ในพื้นที่ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม อาชีพที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน

จากบรรพบุรุษ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ประจำท้องถิ่น คือ ผ้าพื้นเมือง ผ้าฝ้ายพื้นเมือง ที่เป็นสีพื้นเรียบๆเป็นเอกลักษณ์พื้นบ้านของชนเผ่าภูไท ที่ผ่านการตัดเย็บเป็นผืนก่อนนำมาตัดเป็นเสื้อ ผ้าถุง เป็นรูปทรงต่างๆ นางสมจิต อินทะโร ประธานกลุ่มทอผ้าและเสื้อปักมือ และสมาชิก บ้านหนองลาดควาย หมู่ ๗ ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร อ่านต่อ...

ลูกประคบ จากสมุนไพรใกล้ตัว

 ชื่อ ลูกประคบ จากสมุนไพรใกล้ตัว


ชุมชน บ้านดงบาก หมู่ที่ 6 ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

สมุนไพรไทย เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่สมัยรุ่นบรรพบุรุษ มีการนำสมุนไพรหลากหลายชนิดมาเป็นตัวยา เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบมะขาม การบรู สมุนไพรใกล้ตัว รอบตัวเรามาใช้ ในการทำสมุนไพร

ในพื้นที่ตำบลโพนทอง บ้านดงบาก อำเภอเรณูนครจังหวัดนครพนม มีปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อว่า ลุงชูมา เกสรราช อายุ 80 ปี บ้านเลขที่ 29 หมู่ที่ 6 ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เป็นผู้มีความรู้เรื่องเรื่องการทำลูกประคบสมุนไพร เพื่อใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วย โรคปวดข้อ ปวดเข่า ปวดเมื่อยตามตัว โดยลุงชู ได้เห็นความสำคัญของการใช้พืชสมุนไพร และศึกษาความรู้ด้านสมุนไพร มาอย่างยาวนานถึง50 ปี อ่านต่อ...

ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านหนองลาดควาย

 


ชื่อ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านหนองลาดควาย

ชุมชน บ้านหนองลาดควาย หมู่ที่ 7 ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

บ้านหนองลาดควาย เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อ น่าสนใจ ที่ว่า หนองลาดควาย แปลว่า มีหนองสระน้ำ ที่ควายชอบลงไปเล่นน้ำ และอยู่อาศัยเป็นประจำ ชาวบ้านหมู่บ้านนี้ จะเลี้ยงควาย เป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกวิถีชีวิตธรรมชาติ เพราะแต่ก่อนที่เทคโนโลยียังไม่ทันสมัย การทำการเกษตร ทำนาข้าว ชาวบ้าน ก็ใช้ควายไถนา ทุกครัวเรือน จึงเลี้ยงควายไว้เพื่อทำการเกษตร และมูลควาย สามาถนำมาใช้ในการทำนา เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ข้าว และพืชผักที่ปลูกสวยงาม ได้รับผลิตดี อ่านต่อ...

ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตา


 ความเชื่อเรื่องการเลี้ยงผีปู่ตา ที่เป็นศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีที่ชาวบ้านเหล่าสำราญ หมู่ 8 ได้ทำขึ้น ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ก่อนงานบุญมหาชาติของตำบลโพนทอง มาจากความเชื่อและศรัทธาของชาวบ้าน ว่าการเลี้ยงปู่ตา จะช่วยให้หมู่บ้านนั้น ปู่ตาจะช่วยปกป้อง คุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นความสุข จะทำการสิ่งใดก็อุดมสมบูรณ์ ไม่ติดขัด ราบรื่น การทำนา ฝนจะตกดี ทำสวนจะได้ผลผลิตดี โดย จะมีการลงมติในการสมทบจัดหาเครื่องเซ่นไหว้ ซื้ออาหารและเครื่องทำสักการะในพิธีเลี้ยงผีปู่ตาที่ใช้ในการเลี้ยงปู่ตา มี เนื้อวัว อ่านต่อ...

อาชีพของคนในท้องถิ่น “การทำพวงกุญแจจากเศษผ้า”


 

บ้านพิมาน ตำบลพิมาน มีอาชีพกเกิดขึ้น อีกหนึ่งอาชีพคือ การทำพวงกุญแจจากเศษผ้า คือการนำเอาเศษผ้าที่เหลือจากการทอผ้า หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้ามาทำพวงกกุญจากเศษผ้าได้อีก นอกจากจะประหยัดแล้ว เรายังใช้วัสดุที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรอุปกรณ์ วิธีการทำที่พิถีพิถัน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนหลงใหล การใช้งานทน และคุ้มค่า ราคาย่อมเยา เป็นอาชีพอิสระในการทำมาหากิน และสร้างรายได้ให้กับตนเอง อ่านต่อ...

ภูมิปัญญาท้องถิ่น “การทอผ้าจากเปลือกไม้”

 


ตำบลพิมานตามคำเล่าขานมีถิ่นฐานอยู่ที่ประเทศลาว แถวเมืองมหาชัย แล้วมีการอพยพข้ามแม่น้ำโขง เนื่องจากถูกการรุกรานเกิดจากศึกฮ้อ แล้วมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านพิมานท่า หมู่ที่ 8 และต่อมาการขยายครัวเรือนมาถึงบ้านพิมาน หมู่ที่ 1ซึ่งเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันตำบลพิมานแบ่งการปกครองเป็น 10 หมู่บ้าน อาชีพหลัก ทำนาอาชีพเสริม ค้าขาย ช่างเดินทางโดยทางรถยนต์จากที่ว่าการอำเภอนาแก ถึงตำบลพิมานเป็นระยะทาง 7 กิโลเมตร ประวัติกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านพิมาน อ่านต่อ...

แหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านพิมาน


 “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ตั้งอยู่ที่บ้านพิมาน หมู่ที่ 3 ตำบลพิมาน

อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง ที่อยู่ในเขตพื้นที่การพัฒนาการปกครองและรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน ประชาชนในชุมชนใช้วิธีชีวิตแบบพอเพียงพึ่งตนเองเป็นส่วนใหญ่ สภาพปัญหาของหมู่บ้านมีไม่มากนัก ผู้คนในหมู่บ้านมาจากหลายจังหวัดนอกเหนือจากนั้นบ้านพิมาน ยังมีประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนให้มีคุณธรรมคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ชุมชนมีการตั้งกฎระเบียบเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันเช่น การอนุรักษ์ป่าดอนยาง  อ่านต่อ...

“กระติบน้อยอิ่มสุข...การสานกระติบข้าวจากไม้ไผ่”

 


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มาเนิ่นนานและยังคงรักษาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเครื่องจักสานในภูมิภาคนี้คือในด้านวัตถุดิบ ความถนัดของช่างฝีมือจักสาน ขนบธรรมเนียม สภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นต้น และเครื่องจักสานที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ก๋วย(ตะกร้า,เข่ง) ซ้งหวด(หวด,ภาชนะที่ใส่ข้าวสารนึ่ง) อ่านต่อ...

“วัดภูพานอุดมธรรม ตำนานดานสาวคอย วิมานแห่งความรัก สู่เส้นทางธรรม ”

 


“วัดภูพานอุดมธรรม” ชื่อเดิมคือ วัดดานสาวคอยวนาราม ตั้งอยู่ที่บ้านดานสาวคอย หมู่ที่ ๑๒ ตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๘ มีการประดิษฐาน "พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร" อันเป็นสัญลักษณ์ของการยุติการสู้รบเพื่อนำความสงบสุขมาสู่ดินแดนแห่งนี้ อ่านต่อ...

“กุศโลบายวิถีชาวนา สืบสานประเพณีอันล้ำค่า บุญกองข้าวของชาวภูไท ”

 


ประเพณีบุญกองข้าว เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของคนอีสาน จัดทำขึ้นใเดือนสาม ตรงกับขึ้นสามค่ำของทุกปี เหตุเพราะคนอีสานเชื่อว่า ในเดือนสาม ขึ้นสามค่ำของทุกปีฟ้าจะไข (เปิด) ประตูฝน ฟ้าจะร้องฝนจะตก คนโบราณจะคอยสังเกตเสียงของฟ้าร้อง ว่าร้องมาจากทางทิศใด เพื่อมาทำนายน้ำฝนว่าจะมากหรือน้อย และเตรียมตัวรับกับสถานการณ์น้ำในฤดูกาลทำนาในปีถัดไป อ่านต่อ...

วิถีชีวิตทุ่งรวงทองของชาวนาแก..."การทำนา"

 


การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน

อ่านต่อ...

ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำส้มผักเสี้ยน "ยายทอง"

 


การทำส้มผักเสี้ยนของยายทอง จะแบ่งวันละแปลง เพื่อที่จะให้ได้ผักเสี้ยนส่งลูกค้าได้ทุกวัน โดยนำยอดอ่อนของผักเสี้ยนมาผึ่งแดดให้สลบ แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด นำมานวดเบาๆ ผสมกับเกลือเล็กน้อย ระหว่างนวดหมั่นใส่น้ำลงไปเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ผักแห้งจนเกินไปและแช่น้ำผักเสี้ยนเพื่อให้อ่อนตัวประมาณ 3 ชั่วโมง อ่านต่อ...

แหล่งท่องเที่ยว ลิงป่าบ้านโพนก่อ

 


ลิงป่าบ้านโพนก่อท่า หรือ นครลิง ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าสันติธรรม บ้านโพนก่อ ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสงคราม ที่เป็นแม่น้ำสายหลักอันหล่อเลี้ยงคนในชุมชนและผู้คนในเขตอำเภอศรีสงครามมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพราะแม่น้ำสายนี้เป็นดั่งเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงผู้คนในอำเภอศรีสงคราม โดยไหลผ่านเขตตำบล 6 ตำบล อ่านต่อ...

พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 


ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ถือว่าเป็นแนวคิดใหม่ ซึ่งปัจจุบันการท่องเที่ยวภายในวัด เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มุ่งความสนใจพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องของการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชุมชน ดังนั้นคิดว่าวัดจึงต้องมีการจัดการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวให้เหมาะสม ไม่ให้กระทบกับทรัพยากรภายในวัด โดยเฉพาะวัดที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่เป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชน อ่านต่อ...

ปลูกกะหล่ำปลี สร้างรายได้หลังฤดูทำนา

 


ชาวตำบลนาหัวบ่อ ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก ส่วนมากปลูกข้าวนาปี หรือ ข้าวที่ต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก ซึ่งเพาะปลูกได้เพียงหนึ่งครั้งต่อปี หลังฤดูทำนาเกษตรกรหลายรายจึงจำใจปล่อยแปลงนาของตนให้รกร้าง ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นการเสียโอกาสในการสร้างรายได้เป็นอย่างมาก  อ่านต่อ...

ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำข้าวเม่าหวาน

การทำข้าวเม่า เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม มีมานานตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว โดยแปรรูปข้าวมาเป็นขนมและอาหาร ในสมัยก่อนการทำข้าวเม่าจะใช้ข้าวที่ปลูกตามฤดูกาลทำ ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวนาปี และข้าวไร่ ถ้าเป็นข้าวนาปรังช่วงระยะเวลาที่จะทำข้าวเม่าได้ก็จะเป็นเดือนมีนาคม- เดือนเมษายน ข้าวไร่ช่วงระยะเวลาที่จะทำข้าวเม่าได้ก็จะเป็นเดือนกันยายน ส่วนข้าวนาปีช่วงระยะเวลาที่จะทำข้าวเม่าได้จะมีอยู่สองช่วงเพราะชาวบ้านจะปลูกข้าวอยู่สองประเภทคือข้าวหนักที่ชาวบ้านเรียกกันว่าข้างงัน เป็นข้าวที่ออกรวงช้า กินเวลาตั้งแต่ดำจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณสี่เดือน จะทำข้าวเม่าได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน และข้าวอีกประเภทหนึ่งคือข้าวเบาหรือที่ชาวอีสานเรียกว่าข้าวดอ เป็นข้าวที่ออกรวงเร็วใช้เวลาตั้งดำจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณสามเดือนก็สามารถทำข้าวเม่าได้ในช่วงเดือนตุลาคม อ่านต่อ...

พิธีแซงสนามไทโส้ บ้านโพนตูม หนองแสง

 

ชาวไทโส้บ้านโพนตูม บ้านหนองแสง ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชนเผ่าเรื่อยมา โดยเฉพาะพิธีกรรมเหยาซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ใช้ในการรักษาคนป่วย และทุกปีจะมีประเพณี “แซงสนาม” ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านในกลุ่มคนชาวไทโส้ที่เชื่อว่าผีเป็นวิญญาณที่มีอำนาจลึกลับ สามารถทำให้คนเจ็บป่วยได้ การบำบัดรักษามิให้ร่างกายเจ็บป่วยคือ การป้องกันมิให้วิญญาณผีเข้าสิงในร่างได้อีกหลังจากที่ได้ทำพิธีปัดเป่าให้ผีออกไปจากร่างกาย โดยแม่ครูหรือแม่หมอ ทำพิธีเหยาคุมผีให้ออกไปแล้ว ทำให้ชาวไทโส้ให้ความนับถือหมอเหยาเป็นอย่างมาก  >>>อ่านต่อคลิกที่นี่<<<